1.ตรวจสอบอุปกรณ์ ตรวจสอบสภาพภายนอกกล่อง อุปกรณ์ภายใน ตามใบเสนอราคาหรือตามข้อตกลง
2.ติดตั้งชุดยึด ชุดยึดคอนโทรลและหัวพิมพ์แบบมาตรฐานจะอยู่ในกล่อง ผู้ใช้งานต้องประกอบและติดตั้งคอนโทรลและหัวพิมพ์เข้ากับไลน์ผลิตหรือสายพานตามลักษณะหน้างานของท่าน
- ระยะหัวพิมพ์ควรห่างจากตำแหน่งพิมพ์ไม่เกิน 2-3 มิลลิเมตร
- เซ็นเซอร์จับชิ้นงานควรอยู่ใกล้หัวพิมพ์มากที่สุด เพื่อป้องกันการพิมพ์ข้ามชิ้นงานและพิมพ์ไม่ครบ
- สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อขาตั้งสามารถประกอบชุดขาตั้งตามเอกสารในกล่องได้เลย
3.เชื่อมต่อ ทำการเชื่อมต่อสายต่างๆ เช่นสายหัวพิมพ์ , เซ็นเซอร์ , อะแดปเตอร์AC/DC ให้เรียบร้อย
- กดปุ่ม ON/OFF เพื่อเปิดเครื่อง ไฟสีฟ้าที่ปุ่มจะสว่างขึ้นแสดงว่าระบบไฟฟ้าปกติ
- รอหน้าจอบูทจนแสดงหน้าจอข่าวสาร (Info)
- กด ปลดล็อค ก่อนจึงจะสามารถเข้าเมนูต่างๆ ของเครื่องได้
4.สร้างข้อความ คลิกเพื่อดูวิธีสร้างข้อความที่ต้องการพิมพ์
ทางช่างบิส นคร จะเตรียมข้อความไว้ให้ลูกค้าใช้งานอยู่ 3 รูปแบบ กดที่ เมนู>>ข้อความ จากนั้นกดเลือกข้อความที่ต้องการแล้วกดปุ่มเลือกไฟล์
- 2lines auto.msg คือข้อความ 2 บรรทัด ที่วันที่จะอัพเดทเองโดยยึดตามเวลาของเครื่อง
- 2lines.msg คือข้อความสองบรรทัดแบบต้องแก้ไขวันที่เอง
- 3lines.msg คือข้อความสามบรรทัด
ตัวอย่างข้อความดังกล่าวทั้งสามรูปแบบเป็นข้อความพื้นฐานที่ใช้ทั่วไป หากท่านต้องการสร้างข้อความรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอย่างสามารถติดต่อช่างเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้
5.ตั้งค่าการพิมพ์ ขั้นตอนการปรับตั้งอุปกรณ์และค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญได้แก่
- ปรับเซ็นเซอร์ จะต้องติดเมื่อเจอชิ้นงานและดับเมื่อไม่มีชิ้นงาน
- ความเร็วการพิมพ์(Speed) ความเร็วการพิมพ์มีผลต่อความกว้างของข้อความที่พิมพ์ เพิ่มความเร็วการพิมพ์ถ้าต้องการให้พิมพ์แคบลง , ลดความเร็วการพิมพ์ถ้าต้องการให้พิมพ์ยืดมากขึ้น
- ความเข้ม(Density) ระดับความเข้มการพิมพ์ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองหมึกด้วยเช่นกัน
- ทิศทางการพิมพ์(Print direction) ถ้าหากการพิมพ์กลับด้านให้ไปที่ เมนู>>ตั้งค่าการพิมพ์>>พลิกข้อความ>>ปิด/เปิด การพิมพ์แบบย้อนกลับ
- ตำแหน่งการพิมพ์(Delay) หากกำหนดค่าหน่วงมากหรือน้อยเกินไป
คลิกเพื่อดูวิธีการปรับค่าพารามิเตอร์ตต่างๆ
6.ทดสอบพิมพ์ ทดสอบพิมพ์ลงบนชิ้นงานของท่าน เพื่อทดสอบคุณภาพการพิมพ์ ความสวยงาน ความเสถียรของเครื่อง และหากพบปัญหาควรติดต่อช่าง บริษัท บิส นครโดยทันที